กัญชาทางการแพทย์ กับอาการ “วัยทอง”

งานวิจัยที่แสดงในการประชุม North American Menopause Society (NAMS) 2020 ระบุว่าผู้หญิงจำนวนมากขึ้นหันมาใช้กัญชาเพื่อรักษาอาการวัยหมดประจำเดือน หนึ่งในสี่ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหันมาใช้กัญชาเป็นทางเลือกในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นที่ระบุว่าระบบกัญชาในร่างกายมนุษย์ หรือระบบ Endocannabinoid system อาจมีความเชื่อมโยงกับอาการวัยทอง แต่ขณะนี้ยังมีผลการศึกษาที่น้อยมากเกี่ยวกับเรื่องนี้

การวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิง 232 คนจากรัฐแคลิฟอร์เนียที่เข้าร่วมการสำรวจสุขภาพสตรีวัยกลางคนถึงวัยชราโดยค่าอายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมวิจัยคือ 56 ปี อาการวัยทองที่พบเช่น เช่น อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน (54 %) นอนไม่หลับ (27 %) และอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ (69 %) และอาการเปลี่ยนแปลงด้านทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล หดหู่ใจ หรือไม่มีสมาธิ พบว่ามี27 % ของผู้เข้าร่วมการสำรวจกล่าวว่าพวกเขากำลังใช้กัญชา (ในรูปแบบต่าง ๆ) เพื่อจัดการกับอาการวัยหมดประจำเดือน ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าผลิตภัณฑ์กัญชามักใช้เพื่อรักษาอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน และช่วยในการปรับสภาวะทางอารมณ์ ในจำนวนนี้มี 19% ที่ใช้การรักษาแบบอื่น เช่น การปรับสภาพฮอร์โมน หรือการใช้ยาแผนปัจจุบันเพื่อปรับสภาวะทางร่างกายและอารมณ์

ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวไม่ได้แยกผลิตภัณฑ์กัญชาประเภทต่าง ๆ และปริมาณของสารประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาใช้ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะมีผลต่อร่างกาย เพราะการสูบกัญชาหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสารTHC ที่ออกฤทธิ์ทางจิต อาจมีผลลัพธ์ที่หลากหลายสำหรับผู้หญิงที่ต้องการบรรเทาอาการวัยทอง แพทย์ผู้ศึกษาการวิจัยจึงแนะนำว่าผู้ที่ต้องการใช้ยากัญชาเป็นทางเลือกในการรักษาสภาวะวัยทองควรเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ CBD ที่มีคุณภาพและมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และควรเริ่มใช้ในปริมาณน้อย เพราะมีผลการศึกษาว่า CBD สามารถช่วยในเรื่องการนอนไม่หลับและการปรับเปลี่ยนสภาวะทางอารมณ์ได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาทางคลินิกที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการใช้กัญชาเพื่อช่วยบรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือน จึงยังควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

Source: Healthline

Tags :
CBD,กัญชง,กัญชา,กัญชาทางการแพทย์,การวิจัย,ประโยชน์,สารประกอบกัญชา
Share This :