กัญชาสามารถทำให้ “ติด” ได้หรือไม่?

คำตอบคือเป็นไปได้แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถติดได้ ตามการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปี 2018 ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและสถาบันจิตเวชแห่งรัฐนิวยอร์กระบุว่า กัญชาสามารถทำให้ผู้ใช้ติดได้ โดย 1 ใน 10 คนที่ใช้กัญชาจะทำให้เกิดการเสพติดภาวะความผิดปกติจากการเสพติดกัญชามีทั้งอาการทางร่างกาย ทางจิตใจและทางสังคม กล่าวคือเมื่อผู้ใช้กัญชาเป็นประจำหยุดการใช้ อาจจะทำให้เกิดอาการต่อร่างกาย เช่น น้ำหนักลด ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หรือปวดท้อง ส่วนอาการทางจิตเช่น อาจทำให้หงุดหงิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ส่วนอาการทางสังคม (social dependence) หมายถึงผู้ที่ต้องใช้กัญชาในการเข้าสังคมและเมื่อเลิกใช้อาจจะรู้สึกว่าไม่สามารถเข้าสังคมได้เหมือนปกติ

ปัจจัยที่มีส่วนในการเสพติดกัญชา ได้แก่ การมีภาวะสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล อาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) เป็นต้น  โดยในระยะแรกกัญชาอาจมีส่วนช่วยในการช่วยบรรเทาผลกระทบด้านลบของภาวะสุขภาพจิต แต่ถ้าผู้ใช้ใช้สารTHC บ่อยหรือมากเกินไป ความทนทานก็จะเพิ่มขึ้นและปริมาณที่เพิ่มขึ้นสามารถนำไปสู่การพึ่งพาสาร THCได้เช่นเดียวกับการพึ่งพายาอื่น ๆ  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรมหรือการมีคนในครอบครัวติดสารเสพติด ปัจจัยด้านอายุ โดยการศึกษาพบว่าผู้ที่ใช้กัญชาเป็นประจำก่อนอายุ 18 ปีมีแนวโน้มที่จะติดมากกว่าผู้ใหญ่ที่ใช้กัญชามากถึง 7 เท่า และปัจจัยจากการขาดสังคมซึ่งเป็นปัจจัยหลักของผู้ติดสารเสพติดทุกประเภท อัตราการเสพติดจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มผู้ที่ไม่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและทางสังคมที่ดี การเสพติดเกิดจากการแยกตัวทางสังคมและอารมณ์

ขณะนี้คาดว่ามีผู้ติดกัญชามากถึง 22.1 ล้านคนทั่วโลก (ประมาณ 0.3% ของประชากรโลก)

Source: The Cannigma

 

Tags :
Cannabis,กัญชง,กัญชา,ประโยชน์,ผลกระทบ,สารประกอบกัญชา
Share This :

News Updated

Category

News & Event

Get a Promo and Keep Updated